This printed article is located at https://cnt-th.listedcompany.com/director_message.html

The Board of Directors Report

คณะกรรมการบริษัทฯ มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะนำเสนอรายงานประจำปี 2566 และรายงานงบการเงินของบริษัทฯที่ได้ตรวจสอบแล้วสำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2566 แก่ผู้ถือหุ้นได้รับทราบดังนี้

ภาพรวมการดำเนินงานประจำปี

ปี 2566 เป็นปีที่บริษัทฯ ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและต่างประเทศที่มีมาอย่างต่อเนื่อง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ในปีนี้นับได้ว่าเป็นปีที่บริษัทฯ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี อันเห็นได้จากผลประกอบการที่ดีขึ้น โดยมีรายได้จากงานก่อสร้างสูงกว่าปีที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการต้นทุนโครงการก่อสร้าง และการที่บริษัทฯ ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะความผันผวนอย่างรุนแรงทางด้านราคาของวัสดุหลักในการก่อสร้าง เช่น ปี 2565 ที่ผ่านมา ส่งผลให้กำไรขั้นต้นของบริษัทฯ ดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2565

อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมก่อสร้างยังคงประสบภาวะซบเซาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปัจจุบัน การลงทุนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนยังคงประสบกับภาวะซบเซา และในปัจจุบันยังมีปัจจัยที่อาจเป็นผลลบต่ออุตสาหกรรมก่อสร้างคือการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 ที่ล่าช้าไปประมาณ 6 เดือนจากกำหนดการตามปกติ ซึ่งส่งผลต่อการลงทุนในโครงการใหม่ของภาครัฐในครึ่งปีแรกของปี 2567 ด้วยเหตุผลนี้ทำให้การลงทุนในโครงการก่อสร้างใหม่ของภาครัฐจะเริ่มขึ้นในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567

นอกจากนี้ มูลค่างานก่อสร้างของภาคเอกชนยังคงเติบโตอย่างช้า ๆ เพื่อรองรับการฟื้นตัวของกำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การลงทุนใหม่ยังคงมีความเสี่ยงสูงด้านสภาพคล่องทางการเงิน บวกกับมาตรการด้านสินเชื้อที่เข้มงวด รวมถึงการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่ขาดความชัดเจน เมื่อโครงการที่ถูกพัฒนาไปสู่งานก่อสร้างจริงยังมีจำนวนน้อย การแข่งขันจึงยังคงรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศได้เลือกขยายและกระจายการลงทุนไปในบางธุรกิจแทน เช่นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องโรงพยาบาล คลังสินค้า และศูนย์ข้อมูล (Data Centre)

ในส่วนเศรษฐกิจไทยพบว่ายังคงฟื้นตัวช้า และถูกจัดอันตับให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่ฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในอันตับรั้งท้ายของโลก อิงจากการวิเคราะห์โดยธนาคารไทยพาณิชย์ กลุ่มงาน Economic Intelligence Center (SCB EIC) ไต้มีการปรับลดการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยในปี 2566 เหลือ 2.6% และปรับลดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2567 อยู่ที่ 3.0% จากเดิมที่ 3.5% (ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ 2.5 - 3.0%) เนื่องจากการใช้จ่ายของภาครัฐยังคงหดตัว ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ในขณะที่รายไต้ครัวเรือนยังทรงตัวแต่หนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง ความเสี่ยงในระบบการเงินจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย นโยบายการลงทุนของภาครัฐที่ยังไม่ชัดเจนรวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดในขณะที่การลงทุนของภาคเอกชนเริ่มฟื้นตัวแต่การเติบโตยังอยู่ในระดับต่ำ ถึงแม้ว่าจะมีโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพิ่มขึ้นก็ตาม โดยการลงทุนส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ซึ่งนับว่าเป็นสัญญาณบวกของการเติบโตทางเศรษฐกิจในอีก 1 - 2 ปีข้างหน้า ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่กำหนดโดยคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 ยังคงเดิมที่ระดับ 2.5% เนื่องจากเป็นระดับที่เหมาะสมต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว และคาดการณ์ว่าเงินบาทจะแข็งค่าอย่างต่อเนื่องไปถึง 32 - 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในปี 2567

ด้วยแผนบริหารความเสี่ยงและแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจที่บริษัทฯ จัดทำขึ้นประกอบกับความร่วมมือร่วมใจของผู้บริหารและพนักงานทุกท่าน ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีภายใต้วิกฤตการณ์และความท้าทายที่เกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนจากหลายปัจจัยดังที่กล่าวข้างต้น

ทั้งนี้ ด้วยความมุ่งมั่นและตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารงานภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ของคณะกรรมการบริษัทฯ และผู้บริหารทุกท่าน และด้วยการคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนทั้งในด้นเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับพันธกิจ วิสัยทัศน์ และจรรยาบรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ส่งผลให้บริษัทฯ ได้รับการประเมินการกำกับดูแลกิจการอยู่ในระดับดีเลิศมาโดยตลอด โดยบริษัทฯ ได้รับผลการประเมินคุณภาพการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ในระดับคะแนนเต็ม 100 จากสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย เป็นเวลา 5 ปี ในปี 2560 และปี 2563-2566 นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้รับผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทย จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ยู่ในระดับ "ดีเลิศ" เป็นเวลาติดต่อกัน 6 ปี นับแต่ปี 2561 ถึงปี 2566

ผลประกอบการประจำปี 2566

ผลประกอบการของบริษัทฯ ในปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้รวมสูงกว่าปี 2565 จากรายได้งานก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น มีผลอัตรากำไรขั้นตันเพิ่มขึ้นจากรายได้ค่าก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งบริษัทฯ ยังมีการบริหารจัดการต้นทุนโครงการก่อสร้างที่ดีขึ้นรวมไปถึงบริษัทฯ ไม่มีผลกระทบจากราคาวัสดุก่อสร้างหลักที่ผันผวนมากนัก เมื่อเทียบกับปี 2565

กระแสเงินสดของบริษัทฯ ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2565 ซึ่งมาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่ลดลงแต่ด้วยการที่บริษัทฯ มีมาตรการกำกับดูแลในการรักษาสภาพคล่องของบริษัทฯ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นต่อเนื่องหนึ่งในมาตรการดังกล่าวคือการเร่งรัดการรับรองผลงานจากเจ้าของงานหรือผู้ควบคุมงานของเจ้าของงานที่บริษัทฯได้ดำเนินการไปแล้วและยังไม่ได้รับการรับรองผลงานที่ค้างอยู่เป็นเวลานาน เพื่อให้บริษัทฯ สามารถเรียกเก็บเงินได้ จากการเร่งรัดของฝ่ายบริหาร ทำให้บริษัทฯ สามารถรักษาสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจได้อย่างพอเพียง นอกจากนั้นยังมีการติดตามการชำระหนี้ และประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการไม่ได้รับชำระเงินตามกำหนดอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดเป็นหนี้ที่อาจจะสูญ อย่างไรก็ดี ในปี 2566 บริษัทฯ และบริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีการกู้ยืมเงินเพิ่มเติมจากสถาบันการเงิน เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทฯ และบริษัทย่อยนั้นด้วยการบริหารจัดการทางด้านการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สภาพคล่องทางการเงินของบริษัทฯ อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมพอดีกับการดำเนินธุรกิจสืบเนื่องจากความไม่แน่นอนทางด้านสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศเมียนมาร์ ที่อาจส่งผลกระทบกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทย่อยและบริษัทฯ ดังนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติให้บริษัทย่อยในประเทศเมียนมาร์เลิกกิจการและชำระบัญชี โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการชำระบัญชี

การประมูลงานและการได้งาน

ในปี 2566 บริษัทฯ เข้าร่วมประมูลงานจำนวน 44 โครงการคิดเป็นมูลค่างาน 28,070 ล้านบาท และบริษัทฯ ได้รับงานจำนวน 11 โครงการ มูลค่างาน 1,654 ล้านบาท มีสัดส่วนในเชิงจำนวนโครงการ 4:1 และสัดส่วนในเชิงมูลค่าประมูล 17:1 ในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ไม่ได้เร่งที่จะรับงานในโครงการที่มีการแข่งขันสูง โดยเฉพาะงานที่ไม่มีส่วนต่างกำไรขั้นต้น เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการประกอบการ และความเสี่ยงที่อาจเกิดจากคู่สัญญา อีกทั้ง บริษัทฯ ยังคงมีปริมาณงานคงเหลือในมือ (Backlog) ที่ยังดำเนินการอยู่ ทำให้บริษัทฯ ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่จำเป็นต้องรับงานในโครงการที่ไม่มีความสมเหตุสมผลด้านราดา หรือเงื่อนไข

แนวโน้มในอนาคต

เศรษฐกิจโลกในปี 2567 มีแนวโน้มชะลอการขยายตัวลงเป็น 2.5% จาก 2.7% ในปี 2566 ซึ่งในปี 2566 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของโลกเติบโตดีกว่าที่ได้มีการคาดการณ์ไว้จากเดิมที่ 2.4% เป็น 2.7% กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอการเติบโตลงจากปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากรายจ่ายในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 รายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับสังคมผู้สูงอายุ การปรับตัวต่อภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) รวมถึงการแบกรับภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น

ในส่วนของอุตสาหกรรมก่อสร้างนั้น แม้โครงการต่างๆ ของภาครัฐยังคงล่าช้าออกไป ตามการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 รวมถึงความไม่ชัดเจนในการลงทุนของภาครัฐ และภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ปัจจัยเหล่านี้ยังคงกดดันให้การลงทุนก่อสร้างของภาคเอกชนชะลอตัวอย่างไรก็ตาม ในปี 2567 มีโครงการบางส่วนที่ได้รับการพัฒนาและขยายการลงทุน เช่น งานก่อสร้างโรงพยาบาลงานธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องงานบริหารคลังสินค้าและโลจิสติกส์ ศูนย์ข้อมูล (Data Centre) งานอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป แต่ทั้งนี้โครงการเหล่านี้มีจำนวนผู้เข้าร่วมประมูลแข่งขันมากกว่าปกติ มีการคาดการณ์ว่าในปี 2567 นี้ การขยายการลงทุนในโครงการก่อสร้างจะดีขึ้นกว่าปี 2566 ที่ผ่านมา บริษัทฯ มีแผนเข้าแข่งขันและประมูลงานที่มีมูลค่า 30,000 - 40,000 ล้านบาทโดยประมาณ ซึ่ง คาดการณ์ว่าบริษัทฯ มีโอกาสได้งานที่มีมูลค่า 7,000 - 8,000 ล้านบาท

ณ สิ้นปี 2566 กลุ่มบริษัทมีปริมาณงานคงเหลือสำหรับโครงการก่อสร้างในเมื่อประมาณ 6,771 ล้านบาท ลดลงเกือบร้อยละ 40 จากสิ้นปี 2565 ซึ่งมีมูลค่างานคงเหลือในเมื่อประมาณ 11,431 ล้านบาท

ธุรกิจพลังงานทดแทน (บริษัทย่อย)

จากที่บริษัทฯ ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพ และสัดส่วนทางการตลาดของพลังงานทางเลือกทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาคอินโดจีน รวมไปถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นในมิติของความยั่งยืนในการดำรงชีวิต และการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันที่เป็นปัจจัยทำให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น บริษัทฯ จึงตัดสินใจเข้าสู่ภาคพลังงานทางเลือกในปี 2562 โดยได้จัดตั้งบริษัทย่อยในนาม คริสเตียนีและนีลเส็น เอนเนอร์จีโซลูซันส์จำกัด (CNES)

ในระหว่างปี 2566 การดำเนินธุรกิจ ของบริษัท CNES และบริษัทย่อย CNESD1 ยังคงมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องและในไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 บริษัทฯ และบริษัทย่อยยังได้รับงานเพิ่มเติมจากงานที่มีอยู่ โดยได้ดำเนินการซื้อขายพลังงานแสงอาทิตย์ (Power Purchase Agreement - PPA) กับกลุ่มบริษัทที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้ บริษัทย่อย CNESD1 ยังเป็นหนึ่งในบริษัทที่คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่จากการนำระบบสำรองพลังงานไฟฟ้าขนาด 3200KVA กับแบตเตอรี่มารวมเข้าไว้ด้วยกัน (ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในระดับ C 6) และนำมาใช้ในโครงการ PPA เป็นระยะเวลา 25 ปี ให้กับอีกหนึ่งบริษัทที่มีชื่อเสียงเช่นกัน ซึ่งงานระบบดังกล่าวสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี ในไตรมาสที่ 4 นี้ บริษัทอยู่ระหว่างการตกลงขั้นสุดท้ายที่จะรับงานโครงการ PPA ของโรงแรมในกลุ่มโรงแรมที่มีชื่อเสียง จำนวน 6 แห่ง และอีกหนึ่งโครงการกับบริษัทแห่งหนึ่ง นอกเหนือจากการรับงานบริการด้านการออกแบบทางวิศวกรรมอย่างเบ็ดเสร็จ (Engineering, Procurement, and Construction-EPC) ที่บริษัทฯ ได้รับเพิ่มขึ้น 2 โครงการ

ธุรกิจก่อสร้างโรงแรมและรีสอร์ทในระดับ High-end (บริษัทย่อย)

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 บริษัทฯ ได้ร่วมกับนายจูเลียน โอลด์สจัดตั้งบริษัท คริสเตียนีและนีลเส็น ดีซีเอ็ม จำกัด (CNDCM) โดยบริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 80 และนายจูเลียน โอลด์สถือหุ้นร้อยละ 20 ด้วยประสบการณ์ของบุคลากรที่สั่งสมมากว่า 20 ปี ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับพรีเมี่ยมและโรงแรมตั้งแต่ระดับห้าดาวขึ้นไปโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พังงา เกาะสมุย และจังหวัดเชียงใหม่

บริษัท CNDCM ได้ให้ความสำคัญต่อการรักษาชื่อเสียงที่สั่งสมมาในกลุ่มธุรกิจเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯมีความมุ่งมั่นเป็นอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจก่อสร้างในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งในขณะนี้กล่าวได้ว่าบริษัท CNDCMเป็นบริษัทที่มีผลงานและชื่อเสียงที่แข็งแกร่งที่สุด

ทั้งนี้ นายจูเลียน โอลด์ส มองว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดภูเก็ตมีทิศทางการเติบโตที่น่าประทับใจ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการเติบโตที่โดดเด่นที่สุดนับตั้งแต่จุดเริ่มต้นเมื่อสองทศวรรษที่ผ่านมา โดยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาผู้ที่ให้ความสนใจในตลาดนี้จะเห็นว่ามีการปรับเพิ่มของราดาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีปริมาณความต้องการสูง ด้วยการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดภูเก็ตจึงเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โครงการใหม่ได้รับการเปิดตัวขึ้นจำนวนมากจากการเข้ามาของชาวต่างชาติที่เลือกจังหวัดภูเก็ตให้เป็นแหล่งพักผ่อนดั่งสวรรค์ในเขตร้อนแห่งใหม่ จำนวนการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่บนเกาะนี้เป็นข้อพิสูจน์ถึงการเติบโตที่เจริญรุ่งเรือง ถึงแม้จะมีการปรับราคาเพิ่มขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดภูเก็ต แต่ความต้องการก็ยังคงมีอยู่มาก หากไม่มีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดการเติบโตที่เป็นไปในทิศทางขาขึ้นนี้จะต่อเนื่องไปจนถึงปี 2567 และปีต่อ ๆ ไป

ผลประกอบการ

สำหรับปี 2566 งบการเงินรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยแสดงผลกำไรสุทธิจำนวน 19.8 ล้านบาท โดยมีผลกำไรเพิ่มขึ้นจำนวน 238.3 ล้านบาท เมื่อเทียบกับผลขาดทุนสุทธิจำนวน 218.6 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีรายได้รวมจำนวน 7,249.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 1,900.8 ล้านบาทหรือร้อยละ 35.5 จากจำนวน 5,348.4 ล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักมาจากรายได้จากงานก่อสร้างเพิ่มขึ้นจำนวน 1,917 ล้านบาท หรือร้อยละ 36.8 จากจำนวน 5,214 ล้านบาท ในปี 2565 และมีต้นทุนงานก่อสร้างต้นทุนจากการขายและบริการ รวมถึงต้นทุนจากการให้เช่าจำนวน 6,918 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 1,555.1 ล้านบาทหรือร้อยละ 29 มีกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจำนวน 323.3 ล้านบาท โดยมีอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจากขาดทุนร้อยละ 0.61 เป็นกำไรร้อยละ 4.03 ทั้งนี้ เนื่องมาจากในปี 2566 บริษัทฯมีรายได้ด่าก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้นและมีการบริหารจัดการตันทุนโครงการก่อสร้างที่ดีขึ้น รวมไปถึงการที่ ไม่ได้รับผลกระทบของราคาวัสดุก่อสร้างหลักที่ผันผวนมากเมื่อเทียบกับปี 2565 ส่งผลให้กำไรขั้นต้นของกลุ่มบริษัทฯ โดยรวมดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2565

นอกจากนี้ ในปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้สุทธิจากการให้เช่าพื้นที่สำนักงานในอาคารสำนักงานของบริษัทฯ จำนวน 10.9 ล้านบาทและในปี 2566 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายได้อื่นเพิ่มขึ้นจำนวน 22.4 ล้านบาท มาจากค่าความเสียหายที่เรียกคืนได้จากผู้บริหารบริษัทย่อยและการปรับปรุงรายการเจ้าหนี้ที่คงค้างมานานออกจากบัญชี

ค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้นจำนวน 34.2 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 โดยสาเหตุหลักมาจากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับบริษัทย่อยแห่งใหม่ที่จัดตั้งขึ้นระหว่างปี 2566 จำนวน 39 ล้านบาท

ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นจำนวน 34.6 ล้านบาท จากจำนวนยอดกู้ยืมที่ระยะสั้นจากสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนการลงทุนเพิ่มเติมในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าของบริษัทย่อยและโครงการการก่อสร้างที่มีการขยายเวลาการชำระเงินนานกว่าปกติ นอกจากนี้ยังรวมถึงการปรับอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินที่สูงขึ้นกว่าปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตามแม้ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นมากในปี แต่จากรายได้ค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นมาก ทำให้บริษัทฯ มีผลกำไรสุทธิก่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจำนวน 55.1 ล้านบาท โดยมีค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลรอตัดบัญชีและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ในปี 2566เป็นจำนวน 35.3 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทฯ มีผลกำไรสุทธิจำนวน 19.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 238.3 ล้านบาท จากขาดทุนสุทธิจำนวน 218.6 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

ผลการดำเนินงานของบริษัทย่อยในประเทศไทยที่ดำเนินธุรกิจในส่วนงานการขายและให้บริการจัดหาทางออกทางด้านพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานทดแทนอื่นสำหรับปี 2566 มีรายได้รวม 81 ล้านบาท มีผลขาดทุนสุทธิจำนวน 12 ล้านบาท โดยมีผลขาดทุนสุทธิลดลงจำนวน 23 ล้านบาท เมื่อเทียบกับผลขาดทุนสุทธิ์ จำนวน 35 ล้านบาทในปี 2565 อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของบริษัทในการพัฒนาสินทรัพย์ด้านพลังงานไฟฟ้า บริษัทฯคาดหวังที่จะสร้างรายได้ต่อเนื่องในระยะยาวมากขึ้น

ในปี 2566 บริษัท CNDCM ชนะการประมูลโครงการในจังหวัดภูเก็ตจำนวน 2 โครงการ กล่าวคือโครงการศูนย์สุขภาพและร้านอาหารไทย ซึ่งเจ้าของโครงการได้แก่กลุ่มโรงแรมที่มีชื่อเสียง และคาดว่าโครงการจะก่อสร้างแล้วเสร็จโดยสมบูรณ์ในเดือนเมษายน ปี 2567 และโครงการที่พักอาศัยระดับหรูอีกหนึ่งโครงการ โดยทั้งสองโครงการนี้มีมูลค่ารวมกันประมาณ 335 ล้านบาท ส่วนผลการดำเนินงาน มีผลขาดทุนสุทธิ 39 ล้านบาท สาเหตุจากรายได้ค่าก่อสร้างที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำจากงานประมูลที่ได้รับในระหว่างปี ส่งผลให้รายได้ที่ได้รับยังไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่างๆ นอกจากนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 บริษัท CNDCM ชนะการประมูลงานโครงการที่พักอาศัยระดับหรูและคอนโดมิเนียมมูลค่า 615 ล้านบาท ที่หาดลายัน จังหวัดภูเก็ตซึ่งเจ้าของโครงการได้แก่กลุ่มบริษัทที่มีชื่อเสียงเช่นกัน

ณ สิ้นปี 2566 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 6,487 ล้านบาท หนี้สินรวมจำนวน 4,810 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้น จำนวน 1,677 ล้านบาท โดยมีเงินสดและรายการเที่ยบเท่าเงินสด ณ สิ้นปี 2566 จำนวน 170 ล้านบาทลดลงจำนวน 42 ล้านบาท จากสิ้นปี 2565 หรือต้นปี 2566 จำนวน 212 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากกระแสเงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมดำเนินงานจำนวน 766 ล้านบาท กระแสเงินสดใช้ไปในกิจกรรมลงทุนจำนวน 252 ล้านบาท และกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงินจำนวน 976 ล้านบาทสิ้นปี 2566 บริษัทฯ ไม่ได้รับผลกระทบด้านสภาพคล่อง เนื่องจากมีเงินสดสำรองเพียงพอโดยอัตราส่วนสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทฯ ในงบการเงินรวมมีอัตราส่วนสภาพคล่อง 0.94 เท่า ซึ่งเปลี่ยนแปลงลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสิ้นปี 2565 และมีอัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็วเท่ากับ 0.45 เท่า ดีขึ้นกว่าปี 2565 ซึ่งอยู่ที่ 0.40 เท่า

อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นดีขึ้นโดยเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่ร้อยละ (12.23) เป็นร้อยละ 1.19 และอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ (3.72) เป็นร้อยละ 0.31 อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2565 ซึ่งเท่ากับ 2.76 เท่า เป็น 2.87 เท่า ในปี 2566

การจัดสรร

คณะกรรมการบริษัทฯ ขอจัดสรรผลประกอบการเฉพาะของบริษัทฯ ดังนี้

บาท
กำไรสะสมยกมา 65,444,253
ผลประกอบการประจำปี 2566 72,346,314
ผลกำไรจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย 8,520,441
จัดสรรกำไรสะสมเป็นสำรองตามกฎหมาย (3,617,316)
โอนส่วนเกินจากการตีราคาทรัพย์สิน 1,977,335
กำไรสะสมยกไป 144,671,027

สุดท้ายนี้ ด้วยความคาดหวังในสถานการณ์เศรษฐกิจที่ดีขึ้นในอนาคต บริษัทฯ ขอขอบคุณผู้ถือหุ้น ลูกค้า และ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกท่านที่มีความเชื่อมั่นและสนับสนุน และในฐานะตัวแทนของคณะกรรมการบริษัทฯ ข้าพเจ้าอยากจะแสดงความขอบคุณอย่างสุดซึ้งต่อผู้บริหาร และพนักงานทุกคนของบริษัทฯ สำหรับการทำงานอย่างหนัก ความภักดี ความเสียสละ และความทุ่มเทตลอดปีที่ผ่านมา


นายคูชรู ดาลี วาเดีย
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

นายเกษมสิทธิ์ ปฐมศักดิ์
ประธานกรรมการ


Please read our General Disclaimer & Warning carefully.
Use of this Website constitutes acceptance of the Terms of Website Use.
Copyright © 2024. ThaiListedCompany.com. All Rights Reserved.